LOW-EMISSION

กระจก ที่ผ่านการเคลือบชั้นโลหะโดยระบบ Pyrolytic
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการเคลือบ กระจก ที่บางมาก

มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนที่มาจากดวงอาทิตย์ เปรียบเสมือนฉนวนกันความร้อน นอกจากนี้ยังให้ค่าในการสะท้อนความร้อนที่ต่ำรวมถึงค่าในการถ่ายเทความร้อน ที่ต่ำอีกด้วย

low01

คุณสมบัติเด่นของ กระจก สะท้อนแสง Low E คือ มีความทนทานต่อรอยขีดข่วน เก็บรักษารวมถึงดูแลรักษาง่ายสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานหลากหลายรูปแบบ นอกเหนือจากการเป็น กระจก ที่สามารถสะท้อนความร้อน ช่วยประหยัดพลังงานแล้วกระจก โลว์อี ยังสามารถถูกปรับไปใช้งานเป็น กระจก เก็บเสียง นำไปดัดโค้ง กระจก กันความร้อน ฯลฯการติดตั้ง กระจก Low E ควรหันด้านเคลือบเข้าสู่ภายในเสมอ บริเวณด้านที่เคลือบควรได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เนื่องจากเมื่อถูกรอยขีดข่วนอาจทำให้ประสิทธิภาพในการกรองแสงด้อยลง กระจก Low E เป็น กระจก ที่ควรเช็ดทำความสะอาดบ่อยๆเนื่องจาก กระจก จะติดฝุ่นได้ง่ายกว่า กระจก ทั่วไป แต่ทั้งนี้ กระจก Low E เป็น กระจก ที่ให้การป้องกันความร้อนที่ดีมากประเภทหนึ่ง

กระจก โลว์อี สามารถใช้งานกับบ้านพักอาศัยทุกประเภท อาคารสูง อาคารสำนักงาน โรงแรม อาคารพาณิชย์ ศูนย์แสดงสินค้าห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ รวมไปถึงการตกแต่งประเภทอื่นๆได้

LOW-E GLASS” คือ กระจกกันความร้อนแบบการแผ่รังสีความร้อนต่ำ กระจกชนิดนี้โดยปกติจะเคลือบสารฉนวนกันรังสีอินฟาเรดหรือรังสีความร้อนไว้ ด้านในของกระจกฉนวน เพื่อทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้รังสีความร้อนแพร่ผ่านจากภายนอกเข้าสู่ภายใน อาคาร เมื่อรวมกับประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของช่องว่างอากาศ ทำให้กระจกชนิดนี้สามารถควบคุมปริมาณความร้อนที่เข้าสู่ภายในอาคารได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ภายในเย็นสบาย ลดการทำงานและยืดอายุของระบบปรับอากาศ รวมทั้งประหยัดค่าไฟฟ้า โดยที่ยังให้ความสว่างภายในอย่างเพียงพอกระจก Low-E แบ่งเป็นสองประเภท คือ Softcoat Low-E หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Offline coating กับ Hardcoat Low-E หรือที่เรียกว่า Online coating ลักษณะตัวอย่างของ Softcoat ผิวหน้าจะเคลือบเป็นลักษณะเหมือนเคมีที่ทาบบนตัวผิว ถ้าถูกกระทบกับมือหรือเศษวัสดุผิว Softcoat จะเป็นรอย ดังนั้นกระจกชนิดนี้จึงนิยมทำเป็นกระจกสองชั้น เช่น กระจกลามิเนต หรือ กระจกสุญญากาศ (DOUBLE GLAZING GLASS) ที่มี AIR gap ตรงกลาง ทำให้น้ำหนักของมันเพิ่มขึ้น ส่วน Hardcoat คือ การทำการอบกระจกอีกครั้ง ทำให้สารเคมีที่ผิวหน้าจะซึมเข้าตัวเนื้อกระจก จึงสามารถสัมผัสที่ผิวหน้าที่กระจกได้, “กระจกสูญญากาศ (DOUBLE GLAZING GLASS)” แต่ละชุดจะประกอบด้วยกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไป มีระยะห่างกันตามขนาดที่กำหนดเพื่อเป็นช่องเก็บอากาศ (AIR gap) คุณสมบัติเด่นของกระจกชนิดนี้ คือ ช่วยประหยัดพลังงานได้มาก ตั้งแต่ 75-95 % ซึ่งสามารถประหยัดทรัพยากรในระบบทำความเย็นและระบบระบายความร้อนได้ดี กระจกสูญญากาศไม่ทำให้เกิดฝ้า หรือละอองน้ำที่ผิวกระจกและลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี